05-02-2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จัดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2561 นำเสนอผลงานวิจัย

   ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวในงานวันนักประดิษฐ์ว่า งานดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เพื่อระลึกถึง วันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่มีผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย”หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไชยพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยและเป็นครั้งแรกของโลก โดยในปีนี้ งานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2561 จัดขึ้นถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 ณ Event Hall 98 – 99 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร จัดขึ้นภายใต้รูปแบบกิจกรรม “ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม”เพื่อเป็นการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม พร้อมใช้และความก้าวหน้าด้านการประดิษฐ์คิดค้นของประเทศให้เกิดการขยายผลและนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ นิทรรศการน้อมรำลึก ในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร “พระบิดา แห่งการประดิษฐ์ไทย” / นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร / นิทรรศการรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ / นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ / นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาไทย / นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์เพื่อสังคมผู้สูงวัย / นิทรรศการบัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย และบัญชีนวัตกรรมไทย และนิทรรศการ “ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัย นอกจากนี้ ยังมีการประชุม/สัมมนา / การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ และสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การประดิษฐ์เพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้ รวมถึงการให้บริการและคำปรึกษาทางธุรกิจสำหรับนักประดิษฐ์ ที่ต้องการต่อยอดผลงานสู่การเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ ผู้สนใจสามารถเข้าชมงานและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

   ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพร้อมมอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ / รางวัลผลงานวิจัย / รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2560 / รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2561 และรางวัล TWAS Prize for Young Scientists in Thailand (ทีดับเบิ้ลยูเอเอส ฟอร์ ยัง ไซแอนด์ทิส อิน ไทยแลนด์) แก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกด้วย โดยมีผลงานวิจัยดีเด่น อาทิ “แนวคิดใหม่ของตัวเก็บประจุไฟฟ้าเคมียิ่งยวดที่ประจุไฟฟ้า โดยอาศัยปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก” และ “ระบบการควบคุมการแสดงออกของยีนในเชื้อมาลาเรียโดยไรโบไซม์กลิมเอส และการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนายา