12-02-2561

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เผย 10 เทคนิค ปกป้องหัวใจ ห่างไกลโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองรับวาเลนไทน์

   นายแพทย์อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก และผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า หลอดเลือดแดงใหญ่มีความสำคัญมาก เปรียบเสมือนท่อน้ำหลัก ที่เลือดไหลผ่าน เฉลี่ยแล้วนาทีละ 5 ลิตร ดังนั้น ไม่ว่าโรคใดก็ตามที่เกิดกับหลอดเลือดจะส่งผล ไปทั่วร่างกาย ถึงแม้ปัจจุบันประชาชนจะมีความรู้มากขึ้น และวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น แต่พฤติกรรมของผู้คนส่วนใหญ่มีการใช้ชีวิตแบบตะวันตก รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้เพิ่ม ความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง จากข้อมูลสถิติพบว่า ผู้ชายอายุ 65 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองร้อยละ 10 ถึง 15 ดังนั้นการรู้จักดูแลตนเอง และคนใกล้ตัวเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมช่วยให้หัวใจแข็งแรง ห่างไกลโอกาสที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดย 10 เทคนิค ที่ช่วยวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ โป่งพอง ได้แก่การตรวจเช็คหัวใจเมื่อเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ได้แก่ ผู้ชายอายุ 65 ปีขึ้นไป /ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัว ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ควรต้องพบแพทย์เพื่อทำ Screening Test (สกรีนนิ่ง เทส) หัวใจ โดยอัลตราซาวด์บริเวณช่องท้องหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณช่วงอกตามการวินิจฉัยของแพทย์ หากเป็นโรคนี้จะได้รักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่หลอดเลือดจะแตกหรือปริ ลดโอกาสเสียชีวิตได้สูงเป็นสิบเท่า รู้สัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ได้แก่ เจ็บหน้าอกบริเวณกึ่งกลางหน้าอกทะลุหลัง /ปวดท้องบริเวณกลางท้องในลักษณะเต้นตุบ ๆ หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ด้านหัวใจทันที เลิกสูบบุหรี่ให้เด็ดขาด เพราะช่วยลดโอกาสหลอดเลือดแดงแตกลงถึง 4 เท่า ในผู้ที่ตรวจพบการ โป่งพองของหลอดเลือด แต่ยังไม่ถึงขั้นแตกหรือต้องเข้ารับการผ่าตัด รับประทานอาหารเสริมบำรุงหัวใจ เช่น ผักและผลไม้สด รวมทั้งสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอไม่จำเป็นต้องเสริมด้วยวิตามิน เพราะการได้รับวิตามินบางชนิดมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย ที่สำคัญก่อนทานวิตามินควรปรึกษาแพทย์โดยละเอียด หลีกเลี่ยงการกินยาที่ไม่ได้มาตรฐาน ได้แก่ ยาลูกกลอน /ยาต้ม /ยาหม้อ เพราะนอกจาก ไม่ทราบที่มาของส่วนผสมที่แน่ชัด ยังอาจมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ทำให้เป็นอันตรายต่อร่าง ควบคุมอารมณ์ไม่ให้เครียด เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งส่งผลให้เป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ควรรู้จักจัดการกับความเครียดและหลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ ที่จะทำให้ตนเองหรือคนใกล้ตัวเกิดความเครียด เล่นกีฬาที่ใช่ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง จิตใจแจ่มใส โดยการออกกำลังกายในผู้ที่มีความเสี่ยงหรือ ผู้ที่ตรวจพบแล้วว่าเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรออกกำลังกายในระดับปานกลางที่ไม่เหนื่อยจนเกินไป เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง /ว่ายน้ำ /เดินป่า และหลีกเลี่ยงกีฬาที่ใช้แรงเบ่ง เช่น การยกน้ำหนัก การดื่มชากาแฟในปริมาณที่เหมาะสม เพราะคาเฟอีนมีผลต่อร่างกายแต่ละคนไม่เท่ากัน ควรสังเกตร่างกายตนเอง และดื่มในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ไม่เกิดผลเสียกับหัวใจ แนะนำให้ดื่มไม่เกินวันละ 1 แก้ว งดดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีผลทำให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมากขึ้น และการหางานอดิเรกที่ชอบ จะช่วยให้ห่างไกลจากภาวะซึมเศร้า เติมเต็มชีวิตให้มีคุณค่าและมีความสุข มีหัวใจที่แข็งแรง โดยควรเลือกงานอดิเรกที่เหมาะสม เช่น ดูหนัง /ฟังเพลง /ออกกำลังกาย /ปลูกต้นไม้ /อ่านหนังสือ /เลี้ยงสัตว์ หรืองานอดิเรกที่ได้ทำประโยชน์ เพื่อผู้อื่นและสังคม อย่างกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ ตามความถนัด

   ในช่วงวาเลนไทน์นี้ การส่งต่อความรักที่ดีอย่างหนึ่งคือชวนคุณพ่อคุณแม่หรือคนที่คุณรักและห่วงใยมาตรวจเช็คสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจต้องดูแลเป็นพิเศษ สำหรับใครที่มีความเสี่ยงแนะนำให้ ตรวจเช็คตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่สำหรับใครที่ไม่มีความเสี่ยงแนะนำให้ตรวจเช็คหัวใจอย่างละเอียดตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป และถ้าหากตรวจแล้วพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ หรือพบว่าเป็นโรคหัวใจแล้ว การส่งต่อความรักที่ดีที่สุดคือการเป็นกำลังใจให้กันและกัน การมาพบแพทย์ก็ไม่จำเป็นต้องรับยากลับไปรับประทานเสมอไป แต่คนไข้จะได้ความรู้และแนวทางการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการดูแลตัวเองและ คนรอบข้างเพิ่มขึ้นอีกด้วย สอบถามรายเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาล หัวใจกรุงเทพ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2310 3000 หรือ สายด่วน 1719