07-04-2563

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลิตกล่องยูวีฆ่าเชื้อโรคในธนบัตร ราคาถูกสามารถทำใช้เองได้

   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากการระบาดของโรค COVID-19 โดยได้ใช้ศักยภาพทางวิชาการจากทุกสาขาวิชาที่มีอยู่ เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรคให้มีประสิทธิภาพที่สุด จะเห็นได้จากการปฏิบัติงานของคณะวิชาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จากความกังวลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับชาติที่กังวลว่า เชื้อโรคดังกล่าวสามารถแพร่กระจายผ่านธนบัตร ซึ่งมีการใช้เปลี่ยนมือกันตลอดเวลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ประสานงานกับคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อหาทางแก้ปัญหาดังกล่าวที่ไม่ยุ่งยาก ลงทุนต่ำ สามารถทำใช้เองในครอบครัว แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการสัมผัสกับบาสงส่วนในกระบวนการฆ่าเชื่อนั้น

   ทั้งนี้ ได้คิดกระบวนการฆ่าเชื่อในธนบัตร โดยใช้กล่องรังสีอัลตราไวโอเล็ต หรือรังสี UV ในรูปแบบของ UVC และด้วยอุปกรณ์ง่าย ๆ คือ หลอดรังสี UV สำเร็จรูป หาซื้อได้ตามร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป มีหลายขนาด กล่องที่นำมาใช้จะเป็นกล่องสำเร็จรูป หรือสามารถทำใช้เองจากกล่องกระดาษทั่วไปก็ได้ โดยภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จะมีการใช้ฟิวส์ป้องกันอันตรายหากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และใส่แผ่นฟรอยด์ในกล่อง เพื่อเป็นการสะท้อนรังสี UV ให้กระจายทั่วถึง มีระบบนิรภัย คือ แสงจะส่องได้ต่อเมื่อปิดกล่องเท่านั้น มีช่องแสงเล็กน้อยเพื่อให้เห็นว่าหลอดไฟทำงาน โดยแสง UV จากหลอด UVC มีการใช้กันในเครื่องกรองน้ำสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ถึงร้อยละ 95 แต่จะอันตรายเมื่อสัมผัสกับร่างกายและสายตา จึงออกแบบอุปกรณ์โดยทำเป็นกล่อง เมื่อจะใช้ให้ใส่ธนบัตรแล้วปิดฝา ใช้เวลาฆ่าเชื้อ 15 วินาที ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถดัดแปลง เพื่อใช้ฆ่าเชื้อโรคในหน้ากากที่ใช้แล้ว โดยใช้ 2 หลอด UV 2 หลอด เพื่อสามารถฆ่าเชื้อได้ทั้ง 2 ด้าน และปัจจุบันสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ที่วิทยาเขตหาดใหญ่ กำลังดัดแปลงเพื่อใช้ฆ่าเชื้อในหนังสือ ซึ่งมีการยืมคืนตลอดเวลา โดยจัดทำเป็นระบบสายพานผ่านแสง UV โดยปกติมีการใช้รังสี UV ในการฆ่าเชื้อโรคในอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือในบางประเทศใช้ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ในร้านเสริมสวย แต่ที่ได้มีการคิดค้นขึ้นนี้เป็นกรรมวิธีง่าย ๆ ซึ่งชาวบ้านสามารถทำเองได้ ต้นทุนอยู่ระหว่าง 600-1,000 บาท แล้วแต่ขนาดและคุณภาพของกล่อง

อย่างไรก็ตาม แผ่นฟรอยด์กำลังร่วมมือกับวิทยาลัยการอาชีพหลวงประธานราษฎร์นิกร และวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ เพื่อผลิตกล่องดังกล่าวให้ประชาชนทั่วไปนำไปใช้ ซึ่งวิธีการนี้มีการใช้กันอยู่ทั่วไป เพียงแต่ยังไม่มีการดัดแปลงเพื่อรับกับสถานการณ์ในปัจจุบันเท่านั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยภาควิชาไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ผลิตจำนวน 50 เครื่อง เพื่อให้บริการหน่วยงานต่าง ๆ ต่อไป