07-08-2563

สวทช. พัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย ส่งเสริมให้มีการจัดพื้นที่การเรียนรู้

   ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สายงานพัฒนากาลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากปี 2561 คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณสนับสนุนโครงการขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบต่อภาคสังคมอย่างกว้างขวาง ซึ่งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ได้รับหน้าที่ให้ดำเนินการโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม หรือ FabLab (Fabrication Lab) เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย โดยส่งเสริมให้มีการจัดพื้นที่การเรียนรู้ ที่ วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี ขึ้น และมี FabLab แบบนี้กระจายอยู่ใน 68 จังหวัด 150 สถานศึกษา ทั้งโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา 100 แห่ง และ วิทยาลัยเทคนิคอีก 50 แห่ง เพื่อพัฒนากิจกรรมสำหรับนักเรียนและครู ให้มีทักษะด้านวิศวกรรม มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบและสร้างชิ้นงาน โดยฝึกทักษะการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรม และเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเกิดแรงบันดาลใจ และสนใจในความเป็นนวัตกรต่อไปในอนาคต

   ด้านนายจำเนียร บัวแดง อาจารย์ประจำโครงการ FABLAB วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี กล่าวว่าแนวทางการใช้ห้อง FabLab ของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี จะมีครูดูแลคล้าย ๆ ห้องสมุดกลาง จำนวน 1 คน คอยให้คำแนะนำแก่นักเรียนนักศึกษาที่ต้องการมาใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ในห้อง FabLab โดยเน้นเรื่องความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเป็นอันดับแรก และมีการเก็บข้อมูลสถิติการใช้งานห้องคล้าย ๆ ห้องสมุด แต่จะเน้นการใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือช่างเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้นักเรียนของเราเป็นนวัตกรต่อไปในอนาคต องค์ความรู้ที่ได้จากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในโครงการ FabLab คือ การใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่มีการอบรมการออกแบบ สร้างฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบนวัตกรรมเพื่อนำมาถ่ายทอดต่อให้กับนักเรียนของวิทยาลัย ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างม

   สำหรับผลงานเด่น ๆ ที่ได้รับรางวัลและชื่อเสียง ตัวอย่างเช่น เครื่องดูแลต้นบอนไซอัตโนมัติ เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุลืมทานยา ทั้งสองผลงานได้รับรางวัลจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด-19 วิทยาลัยได้จัดทำอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือทางแพทย์แก่โรงพยาบาลในเขตลพบุรีรวม 8 แห่ง อาทิ โรงพยาบาลพระนารายณ์ โรงพยาบาลบ้านหมี่ รวมถึงยังได้มอบตู้และกล่องป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโควิด-19 จำนวน 44 ชิ้น อุปกรณ์ face shield จำนวนประมาณ 2,000 ชิ้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือของห้อง FabLab ทั้งสิ้น