01-05-2566

สกสว.เปิดเวทีระดมสมองวิเคราะห์สถานภาพการบริหารจัดการ ช่วงว่าง ความต้องการงานวิจัยและนวัตกรรม หวังปฏิรูปโครงสร้าง ระบบ และเทคโนโลยี เพื่อบูรณาการบริหารจัดการน้ำ

   ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. เป็นประธานเปิดการประชุมหารือการจัดการทรัพยากรน้ำ ในประเทศไทย ครั้งที่ 1 ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อรับฟังสถานภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและช่องว่าง ความต้องการงานวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหารือร่วมกับนักวิจัย หน่วยงานและ ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการสำรวจช่องว่างของข้อมูล ความรู้ การบริหารจัดการทั้งเทคโนโลยี มาตรการทางเศรษฐกิจ หรือกลไกทางสังคม เพื่อหาแนวทางนำความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมการจัดการน้ำจากการวิจัยในระดับต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการไปสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมถึงการกำหนดทิศทาง การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพิ่มเติมในระยะ 5-10 ปี เพื่อยกระดับนวัตกรรมและ แนวทางการจัดการน้ำทั้งระดับนโยบาย ระดับภูมิภาค ระดับลุ่มน้ำ หรือระดับชุมชนท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาการจัดการน้ำที่ รวมถึงการเตรียมการรับมือกับภาวะโลกร้อน เพื่อนําไปสู่การวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเชิงระบบของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

   นางสาว ฉวี วงศประสิทธิพร รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. เปิดเผยว่า สทนช.ต้องการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่อาจเริ่มตั้งแต่ฐานราก นำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้และต่อยอด หรือเทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมที่นำมาใช้บริหารจัดการน้ำ จะต้องเข้าถึงประชาชนได้ง่ายในราคาที่เหมาะสม ให้หน่วยงานของรัฐและประชาชนมีส่วนร่วม และปรับใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น เทคโนโลยีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
ระบบจ่ายน้ำที่มีประสิทธิภาพ ความมั่นคงของน้ำ การวิจัยเชิงประยุกต์ด้าน BCG เสริมกับการประหยัดน้ำเพื่อเป็นต้นแบบการเพิ่มมูลค่าผลิตภาพน้ำ โรงเรือนอัจฉริยะที่ควบคุมน้ำ ดิน ปุ๋ย อย่างแม่นยำที่มีต้นทุนที่เข้าถึงได้และประหยัดเงินประหยัดน้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำโดยเฉพาะน้ำใต้ดิน โดยเฉพาะร่วมกับน้ำใต้ดิน เป็นต้น

   ด้าน ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุถึงความจำเป็นของการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เนื่องจากปัญหาความมั่นคงด้านน้ำ คุณภาพน้ำ และภัยพิบัติ รวมถึงความท้าทายใหม่ทั้งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการใช้ที่ดินกับวิกฤตน้ำท่วม-น้ำแล้ง ตลอดจนความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เมือง และการเปลี่ยนแปลงการปลูกพืช ทั้งนี้ประเทศไทยมีช่องว่างและจุดอ่อนของระบบ โครงสร้าง และกฎหมายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยช่องว่างสำคัญคือ ในยามปกติไม่มีระบบบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่เหมือนเช่นประเทศ และจุดอ่อนด้านการจัดการวิกฤตน้ำ ไม่มีเครื่องมือ ศักยภาพและพนักงานในการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง-น้ำท่วมล่วงหน้า จึงเสนอให้มีกระทรวงทรัพยากรน้ำที่มีการจัดตั้งองค์กรอัจฉริยะสำหรับทรัพยากรน้ำ เพื่อวิเคราะห์อุปสงค์- อุปทาน นวัตกรรมจัดการน้ำและรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มีกองทุนทรัพยากรน้ำ เพื่อระดมทุนเพิ่มเติม จัดตั้ง Sandbox
เพื่อทดลองรูปแบบการบริหารจัดการใหม่และแก้ปัญหาข้อจำกัดของกฎระเบียบและความแตกต่างของลุ่มน้ำให้ มีความมั่นคงและธรรมาภิบาล และมีกลไกทางเศรษฐกิจและเครื่องมือที่ไม่ใช่ราคา เช่น การมีส่วนร่วม ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งการจัดการน้ำ ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสริมว่าประเด็นสำคัญของการจัดการน้ำเชิงระบบต้องมีปฏิสัมพันธ์และบูรณาการในบริบทรับต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาเศรษกิจ สังคม