07-04-2559

ภาษาไทยใช้ให้ถูก "ห้วย" "หนอง" "คลอง" "บึง"

 

  

                                                      ห้วยแม่ดี                                                   บึงบอระเพ็ด

หนองหาน

ภาษาไทยใช้ให้ถูก  ห้วย หนอง คลอง บึง

ในฐานะที่เป็นผู้หนึ่งที่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียในชีวิตประจำวันอยู่เป็นประจำ จึงได้พบคำถามว่า ห้วย หนอง คลอง บึง มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งเชื่อว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่น้อยคนนักที่จะรู้จัก ทั้งห้วย หนอง คลอง และบึง จึงเห็นว่าน่าจะนำมาอธิบายให้ได้รู้จักกัน
        ห้วย คือ แอ่งน้ำลึกกว้างมีทางน้ำไหลจากภูเขามาขังอยู่ตลอดปี หรือ แห้งบ้างเป็นบางคราว เช่น ห้วยแม่ดี
        หนอง หมายถึง บริเวณที่มีน้ำขัง มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก อยู่ตามชุนชน และมักจะแห้งขอดยาม ฤดูแล้ง พอถึงฤดูฝนก็จะมีน้ำมาก 
        คลอง คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเอง หรือ ขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล 
        ส่วน บึง คือ บริเวณที่มีน้ำจำนวนมาก มีขนาดกว้างใหญ่ อาจกินพื้นที่หลายหมู่บ้าน หลายตำบล และมีความหลากหลาย ทางธรรมชาติ เช่น บึงบอระเพ็ด บึงฉวาก เป็นต้น

ภาษาไทยใช้ให้ถูก  ชะตา

ท่านผู้อ่านเคยเกิดความรู้สึกเช่นนี้บ้างไหมคะเวลาที่พบเจอใครบางคน เพียงครั้งแรกก็รู้สึกชอบ    หรือไม่ชอบเขาเสียแล้ว ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้ไม่ว่าดีหรือร้าย มันคือ ชะตา ค่ะ ถ้าชอบกัน    ก็เรียกว่า ถูก    ชะตา แต่ถ้าไม่ชอบ ก็เรียกว่า ไม่ถูกชะตา
        ชะตา คือ ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทำให้รู้สึกชอบหรือไม่ชอบตั้งแต่แรกพบกัน เช่น ถูก    ชะตากัน หรือ ไม่ถูกชะตากัน 
        ชะตา เมื่อประสมกับคำว่า กรรม เป็น ชะตากรรม หมายถึง ผลของกรรมที่ทำมาแล้ว ทำให้ต้อง    พบเหตุการณ์ในชีวิตตามผลของกรรมนั้น เช่น ทุกคนต้องรับทุกข์และสุขไปตามชะตากรรม  ชะตากรรม     หมายถึง ความเป็นไป ความเป็นตายร้ายดี มักใช้ในทางไม่ดี เช่น เขาหายไปนาน ไม่มีใครรู้ชะตากรรม
        ชะตา + ขาด เป็น ชะตาขาด หมายถึง ถึงที่ตาย เช่น ป๊อกชะตาขาด นอนอยู่ในบ้านดี ๆ
    ก็ถูกรถสิบล้อพุ่งเข้ามาชนตาย
        ชะตา + ชีวิต เป็น ชะตาชีวิต หมายถึง ความเป็นไปในชีวิตที่เชื่อว่าถูกกำหนดไว้แล้ว เช่น ชะตา    ชีวิตเขาลุ่ม ๆ ดอน ๆ มาตลอด นอกจากนี้ก็ยังมีความหมายว่า ความเป็นไปในชีวิตอีกด้วยค่ะ เช่น ทำไม    พ่อแม่จึงชอบกำหนดชะตาชีวิตลูกนัก อย่างนี้เป็นต้นค่ะ