04-04-2559

วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม "แสงแดด"

คุณผู้ฟังคะ ถึงแม้ว่าแสงแดดนั้นจะมีความจำเป็นต่อร่างกายแต่การยืนกลางแจ้งหรือการตากแดดเป็นระยะเวลานานกว่า 15นาที ในสภาพอากาศกลางเดือนเมษายน ถือว่าเป็นการกระทำที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งเสี่ยงต่อการเป็นลมแดด เสี่ยงต่อการได้รับรังสียูวีสะสมซึ่งสามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้คะ ตามสถิติของกรมกรมอนามัยมีข้อมูลว่า ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง 300 ถึง 400 รายต่อปี เนื่องจากการได้รับแสงแดดปริมาณมากจะทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนังผิดปกติ ซึ่งเกิดจากทั้งรังสียูวีเอ และรังสียูวีบี ส่วนรังสียูวีซี ที่มีพลังงานสูงที่สุด อันตรายมากที่สุดนั้น กลับพบได้น้อยกว่าเนื่องจากจะถูกชั้นบรรยากาศของโลกกรองไว้ค่ะ การป้องกันผิวหนังจากการสัมผัสแสงแดดเราจึงควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 15 หรือมากกว่า ทาบริเวณผิวหน้าและบริเวณที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดมาก โดยเฉพาะ 3 จุดสำคัญบนร่างกายที่ไม่ควรละเลย เลย คือ 1.ริมฝีปาก 2.ผิวตัว และ 3.ผิวมือ การใช้ครีมกันแดดให้มีประสิทธิภาพนั้นควรใช้ปริมาณเท่ากับ 1 เหรียญบาทต่อครั้ง และควรทาครีมกันแดดก่อนออกแดดอย่างน้อย 20 นาที ทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมงค่ะ นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกใช้ครีมกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีได้ โดยดูจากค่าที่เรียกว่า PA ซึ่งเป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีเอ โดยมีระดับ PA+, PA++ และ PA+++ เรียงตามลำดับของประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีจากน้อยไปมากค่ะ ดังนั้นเพื่อการออกแดดอย่างปลอดภัยเราจึงควรทาครีมกันแดดเป็นประจำ และถ้าเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดในเวลา 10.00-16.00 น.เพราะเป็นช่วงที่รังสียูวีกว่าร้อยละ 80 จะส่อง ลงมาในเวลาดังกล่าวค่ะ