สกร. จับมือเครือข่าย ร่วมเวทีวิชาการ "ห้องเรียนข้ามขอบ" เพื่อการศึกษาที่ยืดหยุ่นไร้รอยต่อ

สกร. จับมือเครือข่าย ร่วมเวทีวิชาการ "ห้องเรียนข้ามขอบ" เพื่อการศึกษาที่ยืดหยุ่นไร้รอยต่อ
2025-05-23 10:20:51
img-news

   วันที่ 22 พฤษภาคม 2568 นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)  นางยุพิน บัวคอม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (รองอธิบดี สกร.) พร้อมด้วย นางสาวเอื้อมพร ศรีภูวงศ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และคณะ ร่วมเวทีเสวนาวิชาการโครงการ “ห้องเรียนข้ามขอบ(Classroom and Beyond) : จากพื้นที่ทดลองสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการศึกษาไร้รอยต่อ”  โดยมี ศาตราจารย์ ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ที่ปรึกษากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นประธาน และดำเนินการโดยทีมคณะผู้วิจัยโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และภาคีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  ณ ห้องประชุมกินรี 1 โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

   นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ “นโยบายด้านการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” โดยให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการดำเนินการตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ ในการขับเคลื่อนภารกิจเร่งด่วน Thailand zero dropout เด็กและเยาวชนกลับเข้าระบบการศึกษา และการสอบเทียบเพื่อให้เด็กที่ไม่พร้อมเข้าสู่ห้องเรียน เพื่อให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาต่อ ทั้งเน้นย้ำฝากฝังให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความแตกต่างของสภาพผู้เรียนในทุกพื้นที่ ทั้งนี้นางยุพิน บัวคอม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ร่วมอภิปรายเพิ่มเติมว่า “การศึกษาเชื่อมโยง” “การศึกษายืดหยุ่น” สามารถทำได้เลยโดยไม่ขัดต่อนโยบายและกฎระเบียบ แต่สิ่งสำคัญ คือ การสร้างความรับรู้ในการปฏิบัติจริง ซึ่งการจัดฝึกอาชีพ การเทียบโอนประสบการณ์เพื่อให้ได้มาซึ่งวุฒิการศึกษานั้น เป็นภารกิจตั้งแต่ยุค สำนักงาน กศน. เดิมอยู่แล้ว การจัดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และในปัจจุบัน กรมส่งเสริมการเรียนรู้ก็มีจุดเน้นการดำเนินงาน ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ ด้วยปณิธานตามวิสัยทัศน์ของกรมฯ “ประชาชน(ทุกช่วงวัย)ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีความสุข พร้อมเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” 

   ด้านนางสาวเอื้อมพร ศรีภูวงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบ “ยืดหยุ่นไร้รอยต่อ”  นับว่าเป็นแนวคิดที่มุ่งให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกช่วงวัย ทุกระบบ โดยไม่มีรอยต่อระหว่างระดับการศึกษา รูปแบบการเรียนรู้ หรือพื้นที่ชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ “ ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียน ครู พ่อแม่ ชุมชน หน่วยงานรัฐ เอกชน และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เชื่อมโยงกันอย่างบูรณาการ เพื่อทำให้ “การเรียนรู้เป็นระบบเดียวที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน” การ Connext หรือ  “การเชื่อมโยงทรัพยากร บุคคล ข้อมูล และโอกาส เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีทิศทาง และตอบโจทย์อนาคต” เพื่อเดินไปด้วยกันอย่างมีพลังจากการมีส่วนร่วมจึงเป็นเรื่องสำคัญ  และ Key Concept การ Connext อย่างมีพลัง คือ การสร้าง “พื้นที่ร่วมเรียนรู้”ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ร่วมกันเท่านั้น แต่คือ การเข้าใจ เปลี่ยนแปลง และเติบโตไปด้วยกันผ่านการเชื่อมโยง “คน ความรู้ โอกาส” อย่างมีความหมาย และเป็นโจทย์ในการก้าวต่อไปว่าเราจะทำให้เกิดการ Connext ที่เข้มแข็งอย่างไรต่อไปในพื้นที่อื่นๆให้มีพลังอย่างแท้จริง

   สำหรับในการเสวนา วิชาการ นางศิรพัชร์ ขันทสีมา ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเชียงดาว พร้อมนักศึกษา สกร.ที่เข้าร่วมโครงการตามโมเดลนี้ เป็นตัวแทน สกร. ขึ้นเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในหัวข้อ “เสียงสะท้อนจากพื้นที่: เชียงดาว จ.เชียงใหม่” ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องทดลองห้องเรียนข้ามขอบ ในการขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ชุมชน เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นสอดคล้องกับสภาพจริงของผู้เรียน

0:00
0:00
/
0:00
0:00
/
0:00