กระดานสนทนา
หัวข้อ : การศึกษาภาคบังคับของประเทศอังกฤษ



การศึกษาภาคบังคับของประเทศอังกฤษนั้นเริ่มตั้งแต่อายุ 5 ถึง 16 ปี โดยแบ่งเป็น โรงเรียนรัฐบาล (State-funded) และ โรงเรียนเอกชน (Independent schools) จะเน้นการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา และการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่วนใหญ่เด็กนักเรียนที่อังกฤษส่วนใหญ่จะเรียนในโรงเรียน แต่ถ้าเป็นนักเรียนต่างชาติที่มาเรียนต่อ อังกฤษ ในระดับมัธยมศึกษานักเรียนจะต้องลงเรียนในโรงเรียนเอกชนเท่านั้น

การศึกษาที่เปิดเรียนจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ช่วง

ภาคต้น (Autumn Term) จะเริ่มเรียนในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนธันวาคม
ภาคกลาง (Spring Term)จะเริ่มเรียนในช่วง เริ่มกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนมีนาคม
ภาคปลาย (Summer Term) จะเริ่มเรียนในช่วงเริ่มปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม
การศึกษาในประเทศอังกฤษ มีด้วยกันทั้งหมด 4 ระดับ

ระดับประถมศึกษา ( Preparatory School ) สำหรับนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-13 ปี เน้นทักษะการเขียนและด้านของตัวเลข
มัธยมศึกษา (Public School) สำหรับนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ได้จนถึงอายุ 18 – 19 ปี รวมระยะเวลาศึกษาทั้งหมด 5 ปี ซึ่งเราจะเรียกว่า year 9 – year 13 สำหรับนักเรียนชาวต่างชาติจะมีสิทธิ์เรียนต่อที่ (Independent School) โรงเรียนมัธยมของเอกชนเท่านั้น ซึ่งนักเรียนทุกคนจะต้องทำการสอบวัดผลความรู้ และความสามารถเพื่อนำไปใช้ในการยื่นสมัครเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาต่อไป โดยจะสอบประมาณเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี การสอบจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ


GCSE (General Certificate of Secondary Education) การสอบระดับนี้ จะสอบเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 16 ปีขึ้นไป นักเรียนเลือกสอบประมาณ 6-10 วิชา เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาต่างประเทศ ศิลป ฯลฯ และผลการสอบจะแบ่งเป็น 7 ระดับ คือ Grade A, B, C, D, E, F, G ผู้ที่สอบได้ Grade C ขึ้นไปจึงจะถือว่าสอบผ่าน


GCE A Level (GCE Advanced) หรือที่รู้จักกันในนาม Sixth Form Colleges โดยใช้ระยะเวลา 2ปีและมีการสอบปลายปีในแต่ละปีการศึกษา A Level เป็นการสอบเพื่อวัดความสามารถทางวิชาการของเด็ก ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีวิชาให้เลือก 50 กว่าวิชา ส่วนใหญ่นักศึกษาในระดับ A Level จะลงเรียนเพียง 2-4 วิชา เพื่อที่จะได้ศึกษาแต่ละวิชาอย่างลึกซึ้ง วิชาที่นักศึกษาเลือกเรียนมักจะเกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือสาขาที่ต้องการ ศึกษาต่อ ในระดับปริญญาตรี การสอบ A Level มี 5 ระดับ คือ A, B, C, D, E แต่ Grade ที่ได้ทั้ง 5 ถือว่าสอบผ่านทั้งหมด มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่พิจารณารับผู้มีผลการสอบในระดับ C ขึ้นไป


IB The International Baccalaureate (IB) Diploma เป็นประกาศนียบัติทางด้านวิชาการระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายอายุระหว่าง 16 ถึง19 ปี ให้มีความพร้อมในการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ในทุกประเทศ หลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตรเข้มข้นโดยใช้เวลาเรียน 2 ปี ประกอบไปด้วยหกวิชาหลักๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาที่สอง(อาจจะเลือกเป็นภาษาของตนเองก็ได้) วิทยาศาสตร์เชิงการทดลอง ศิลปะ เลข และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้นักเรียนจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชน กิจกรรมกีฬา และงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอีกด้วย


อาชีวศึกษา (Further Education) เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งเหมาะกับนักเรียนที่ไม่ต้องการจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ต้องการที่จะมีคุณวุฒิทางวิชาชีพต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ คุณวุฒิวิชาชีพ สถาบันการศึกษาด้านอาชีวศึกษานี้ มีทั้งของรัฐบาลและของเอกชน
ระดับปริญญา Undergraduate หรือ Diploma of Higher Education เป็นหลักสูตร 2 ปี ส่วนใหญ่จะเปิดสอนอยู่ใน College of Higher Education โดยมหาวิทยาลัยบางแห่ง รับเปิดรับผู้สอบ “A” Level อย่างน้อย 1 วิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับ National Diploma การสมัครเข้าศึกษาต่อนั้นต้องสมัครผ่าน UCAS เช่นเดียวกับในระดับปริญญาตรี


First Degree (Bachelor Degree) เป็นหลักสูตรการศึกษา 3 ปี ยกเว้นบางสาขาวิชา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี) ทันตแพทย์ (5 ปี) สัตวแพทย์ (5 ปี) แพทย์ (6 ปี)
Post – Graduate
Post – Graduate Certificate Diploma หลักสูตรการศึกษา 9 เดือนถึง 1 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีเข้าศึกษาต่อ
Master Degree หลักสูตรการศึกษา 1-2 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดี
Doctoral Degree หลักสูตรการทำวิจัย ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร M. Phil

Views : 581 | Replied : 1 | โพสต์โดย masamaru โพสต์เมื่อ : 28-08-2019 00:41:10

โพสต์โดย : sarawut

ความเห็นที่ 1 โพสต์เมื่อ : 15-03-2020 00:37:03

การประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู  มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำคู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะฉบับนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทนำ สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการ การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่และผลงานทางวิชาการ ขั้นตอนการดำเนินการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ และแนวปฏิบัติการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน การกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัด และคำชี้แจงการประเมิน รวมทั้ง แบบเสนอขอรับการประเมิน แบบรายงาน แบบสรุปผลการตรวจสอบและประเมิน เพื่อช่วยให้การประเมิน วิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาบรรลุผลเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าว

 

โดยทาง หจก.ครุศาสตร์ปัญญาได้จัดทำหลักสูตร กลยุทธ์การแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning) รหัส 629041081 ระดับ พื้นฐาน สาระ ภาษาอังกฤษ ระดับช่วงชั้น ประถมปลาย ระยะเวลา 17 (ชม.) เพื่อให้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่สนใจในคุปองครูหลักสูตรดังกล่าว ได้ศึกษาตามหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตนเอง

 

หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูสนใจในหลักสูตรสามารถติดต่อได้ที่ https://karusatpanya.org/ หรือสามารถสอบถามได้ที่ Line : @trainingobec ( มี @ ).

ทั้งหมด: 1 รายการ (1 หน้า)

แสดงความคิดเห็น